วันนี้ เมื่อ 4 ปีก่อนี้ผมอยู่ที่ โตเกียว เปิดทีวีละก็ สงสัยเหลือเกิน ว่ามันอะไรกันนักกันหนา เห็นโฆษณา TV ของ 7-11 ทุกๆ เบรค มี โฆษณาไวน์ตัวนึง ตลอดเลย เกาหัวแกรกๆ เพราะฟังไม่รู้เรื่อง เแต่คลับคล้ายคลับคลาว่าเพื่อนบอก ว่าถ้ามาญี่ปุ่น อาทิตย์นี้ได้เจอ ไวน์ Beaujolais Nouveau แน่ๆ ว่าละก็ แว๊บออกจาก โรงแรมไป 7-11 สาขาใกล้ๆ เออเฮ้ยเจอละ ไวน์ขวดพลาสติก ราคาย่อมเยา ถ้าจำไม่ผิดประมาณ 1,000 JPY ขวดละ 300 บาทไทย จำได้ว่ากินวันละขวดเลยลองเปลี่ยนหลายๆ brand ดุตามห้าง ตาม 7-11 เห็นคนต่อคิวซื้อกันเพียบๆ

ว่าละก็ ขอเขียนถึงซักหน่อย วันนี้ พฤหัสบดีที่ 21 เดือน พฤศจิกายน 2019 ถือเป็นวัน Beaujolais Day (แต่ละปีจะไม่ตรงวันเดิมเพราะเขาถือเอาวันพฤหัสบในสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนพฤศจิกายน)
มาเริ่มกันที่ “Beaujolais” คืออะหยัง???? โบโฌเล่ย์ เป็นชื่อเรียก ของ Province นึงของฝรั่งเศส อยู่ภายในแคว้น Burgundy โดยอยู่ทางทิศใต้ของแคว้น Burgundy อยู่ไม่ไกล จากเมือง Lyon (เมืองใหญ่อันดับสามของฝรั่งเศส และเป็น เมืองแห่ง อาหารไว้จะเขียนถึง อีกทีเด้อ) ่ตำราไวน์เก่าๆ จะรวม Beaujolais ไปรวมกับ Burgundy ด้วย แต่ตำราใหม่จะแยก ออกมาละ เพราะว่า พันธุ์องุ่น วิธีทำไวน์ และ style ของไวน์ ไม่เหมือนกันเลย (มีจุดร่วมกันอยู่บ้าง)
ในขณะที่ แคว้น Burgundy ทำไวน์ขาวจาก องุ่น Chardonnay (เป็นหลัก) และ ไวน์แดง จากองุ่น Pinot Noir เป็นหลัก แต่ทาง Beaujolais นี่คือปลูกองุ่นทำไวน์แดงเกือบทั้งหมด และเป็นองุ่นพันธ์ Gamay เป็นเขตที่ผลิต ไวน์จาก องุ่น Gamay ที่เยอะที่สุดในโลก (95% ของการปลูกในพื้นที่ Beaujolais และคิดเป็นกว่า 50% ของ องุ่น Gamay ที่ปลูกทั่วโลก)
ซึ่งเจ้าตัวองุ่น Gamay นี่ เป็นองุ่นที่ เปลือกบาง (Thin Skinned) สุกเร็ว (Early Ripening) เวลาผู้ผลิตนำมาทำไวน์ โดยส่วนใหญ่จะใช้วิธี Carbonic Maceration (เป็นวิธีที่เฉพาะของทาง Beaujolais ในภายหลังแคว้นอื่นๆ และ ประเทศอื่น ก็เริ่มทำตามบ้าง) ซึ่งคือการสกัดเอา สี และ แทนนิน รวมถึง แอลกอฮอล์ โดยไม่ใช้ yeast และ ออกซิเจน
โดยจะหมัก ผลองุ่นทั้งพวง ทั้งก้าน และให้เกิดการหมัก จากในผลองุ่นเอง (ให้เอนไซม์ภายในผลองุ่นกินน้ำตาลในผลเอง) ซึ่งวิธีการ Carbonic Maceration นี่มีทั้งแบบ Semi และ Full เอาไว้เขียนอีกโพสต์นึงเด้อเดี่ยวจะยาวเกินไปอะ เอาเป็นว่าถ้า ผุ้ผลิตทำไวน์ด้วยวิธีการ Carbonic Maceration นั้นจะทำให้ไวน์ มีความ fresh fruit tannin น้อย รวมไปถึงมีกลิ่นเฉพาะพิเศษ เช่น กล้วย และ bubble gum ได้
ทีนี้ Beaujolais Nouveau คืออะหยังอะ คืองื้ กรุณาดูรูปปลากรอบ 2 รูปนะครับ รูปแรกคือ แผนที่เขตปลูกองุ่นใน Beaujolais จะเห็นว่า ทางตอนเหนือ (ส่วนที่นอกเหนือจากสีเขียวเข้ม) จะเป็นเขตปลูก Gamay ระดับชั้นสูงสุด คือ Beaujolais Cru แบ่งออกเป็น 10 Cru เหนือสุดคือ Saint – Amour ใต้สุดคือ ฺBrouilly พวกเขตไวน์ระดับนี้ถือเป็นระดับสูงสุดของ Beaujolais มี Complex , Depth ไวน์โครงสร้างแข็งหน่อย สามารถเก็บได้นาน (Aging Potential) แต่ละ Cru จะมีคุณลักษณะเป็นของตัวเอง บางตัวเอามา Blind taste หงายหลังเลย ไปทายกันเป็น Burgundy Village เลยเด้อ


ส่วนสีเขียวเข้มคือ ระดับชั้นต่อมาคือ Beaujolais Village อันนี้สารภาพไม่ค่อยได้กินเลยครับ เค้าก็แนะกันว่า ไวน์เกรดนี้อย่าเก็บเกินปี มันจะโรยรา แล้ว
มาถึงสีเขียวอ่อน องุ่น Gamay จากเขตพวกนี้แหละที่นำมาทำ Beaujolais Nouveau ไวน์ที่เน้นที่การดื่มเพื่อการเฉลิมฉลอง เฮฮา ปาร์ตี้
ประวัติคือ Beaujolais ได้ขึ้นสถานะเป็น AOC เมื่อปี 1937 ตอนนั้นกฎคือจะเริ่มขาย ไวน์ Beaujolais คือหลัง 15 ธันวา ของทุกปี ไปแล้วเท่านั้น ละเริ่มมาผ่อนผันให้เป็น 13 พฤศจิกายนเมื่อปี 1951
ซึ่ง ๆๆๆๆๆ วิธีทำไวน์ของเขต Beaujolais (แบบเกรดล่างสุด) เนี่ยมันทำได้เร็วมากๆๆๆๆ (ไม่ต้องไปบ่ม หรือ Aging ต่อหมักเสร็จกินได้เลย) เอาเป็นว่า เก็บองุ่นต้นเดือนตุลา ช่วงกลาง พฤศจิกายน กิน ได้แร้ววว (ซึ่งเร็วมากสำหรับไวน์แดง โดยทั่วไป)
ทีนี้ทางผู้ผลิตเลยมองเห็นลู่ทางว่า เฮ้ย นอกจากได้ cash flow เร็วแล้ว เรามาทำไวน์ Beaujolais ให้เป็นไวน์เฉลิมฉลองด้วยดีกว่า เพราะว่า ในแต่ละปี (Vintage) ของ ไวน์ ไวน์ที่ทำออกมาแล้วได้กินเร็วที่สุด (ในซีกโลกภาคเหนือ) ก็ของพวกเรานี่แหละ เลยเกิด แคมเปญ “Le Beaujolais nouveau est arrivé!” “ไวน์โบฌเล่ย์ใหม่ มาแว๊ววว” ขึ้น เป็นการบอกว่าการเก็บเกี่ยว จบลงแล้ว เป็นการขึ้นต้นศักราชใหม่ ของไวน์แต่ละปีด้วย อีกอย่าง ก็ใกล้กับ Thanksgiving อีกตะหาก ฉลองกันโลด พวกเรา
ตัวไวน์ Beaujolais Nouveau มันมาฮิตกันจริงๆ ก็เมื่อปี 1970 ครับไปทั่วโลกเลย ในเอเซียเรา ไม่มีใครเกินหน้าพี่ ญี่ปุ่น ของเรา เพราะเขาถือว่าเป็นชาติแรกๆ ที่ฉลองวันปีใหม่ ก่อนใครในโลก เพราะฉะนั้นสำคัญมากคือ คนญี่ปุ่นต้องได้ดื่มไวน์ Beaujolais Nouveau เป็นชาติแรกๆ ของโลก (ผมเห็นเค้าเอามาอาบกันด้วยนะ มี Onsen Beaujolais Nouveau กันเลยทีเดียว) ขวดไวน์พวกนี้ก็จะเน้นสีสันสดใส จี๊ดจ๊าด ไวน์ก็ตามนั้นครับเน้นดื่มฉลอง ซื้อปุ๊บกินปั๊บ ไม่ต้องไปเก็บนะครับ โรยแน่นอน กินเอาสนุกไปครับ อยากกินแบบเครียดๆ เรียนเชิญ Beaujolais Cru ครับ 5555
เออๆ ปีนี้ คนญี่ปุ่นยิ่งมีเฮ เพราะบรรลุข้อตกลง กับ EU เรืองลดภาษี ไวน์!!! กรี๊ดๆ เหมือน Beaujolais Nouveau นี่ลดไปขวด ละ 1 euro เลยเยอะมากนะผมว่า